สาเหตุหลักที่ทำให้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรก็คือ ระยะทำการของแบตเตอรี่ที่ยังทำได้แค่ 150-200 กิโลเมตร ไม่เพียงพอที่จะขับเดินทางระยะไกล แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพควรจะทำระยะทางได้ไม่ต่ำกว่า 400 กิโลเมตร ปัญหาของสเตชั่นหรือสถานีชาร์จที่ยังมีจำนวนไม่มากพอในการที่จะรองรับการเดินทางไกล หรือไปถึงที่ชาร์จแต่ไม่สามารถชาร์จไฟได้เนื่องจากพังเสียหาย หรือมีรถที่ไม่ใช่รถไฟฟ้าจอดขวางอยู่ในช่องจอดชาร์จ รวมถึงอัตราภาษีของรถไฟฟ้านำเข้าที่ยังคงมีราคายันเพดัน รถไฟฟ้าประกอบต่างประเทศมีราคาแพงมากจนยากที่จะเอื้อมถึง เมื่อปราศจากการสนับสนุนอย่างเอาจริงเอาจังของภาครัฐ ฝุ่นพิษ PM2.5 ก็จะยังอยู่กับเราต่อไป โดยเฉพาะเมืองใหญ่ในช่วงปลายฤดูหนาวต่อเนื่องกับช่วงต้นฤดูร้อน การสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีรถไฟฟ้าให้คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้งานได้ รวมถึงการเร่งติดตั้งสถานีชาร์จไฟทั่วประเทศให้มากกว่าที่เป็นอยู่ น่าจะทำให้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
BMW จัดการประชุมทางไกลในระบบ video conference โดยใช้สำนักงานใหญ่ที่มิวนิกแถลงข่าวให้กับสื่อมวลชนจากทั่วโลกในเรื่องของการพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้า ภายใต้จุดมุ่งหมายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยมลภาวะจากเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้กันมานาน และเป็นตัวการอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามยับยั้งปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนภายใต้หลักการความตกลงปารีส และด้วยแนวคิด พลังแห่งการเลือก หรือ Power of Choice ยนตรกรรมทุกรุ่นของ BMW Group ในปัจจุบัน มาพร้อมกับระบบขับเคลื่อนที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการที่ต่างกันของผู้ขับขี่ได้ ไม่ว่าจะเป็น:
รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engines หรือ ICE) มาพร้อมสมรรถนะอันเหนือชั้น มีให้เลือกทั้งในแบบเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล
ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ด้วยระบบไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicles หรือ BEV)
ยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Fuel Cell Electric Vehicles หรือ FCEV) ซึ่งเป็นอีกระบบที่ BMW Group กำลังสำรวจความเป็นไปได้ในการผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ.2568 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ รถยนต์ BMW ที่ติดตั้งระบบไฮบริดเสริม 48 โวลต์ ไม่นับเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในฐานข้อมูลและการคาดการณ์ของ BMW Group
ปัจจุบัน รถยนต์ BMW X3 เป็นรุ่นรถยนต์แรกของ BMW Group ที่มอบทางเลือกระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% ให้กับลูกค้าอย่างครบครัน ด้วยรถรุ่นใหม่ BMW iX3 นับตั้งแต่เครื่องยนต์สันดาปภายใน ทั้งแบบเบนซินและดีเซล ไปจนถึงระบบ PHEV และ BEV เส้นทางสู่ยุคแห่งยนตรกรรมไฟฟ้า จะยังคงดำเนินต่อไปในปี พ.ศ.2564 ด้วยการนำรถยนต์ BMW iNEXT เข้าสู่สายการผลิตในฐานะรถยนต์รุ่นเรือธงด้านเทคโนโลยี ที่จะผสมผสานระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าเจเนอเรชั่นที่ 5 เข้ากับระบบขับขี่อัตโนมัติระดับสูงที่ล้ำสมัย ในรูปโฉมของรถยนต์ Sports Activity Vehicle พร้อมด้วย BMW i4 รถยนต์ Gran Coupe สี่ประตูที่จะนำระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าผสมผสานกับเอกลักษณ์ความเป็น BMW อย่างสมบูรณ์แบบ
อนาคตด้านยานยนต์ไฟฟ้าของ BMW Group
BMW Group คาดการณ์ยอดส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 30% ในตลาดโลก โดยคาดการณ์ว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าของ BMW วิ่งอยู่บนท้องถนนมากถึง 1 ล้านคัน ภายในปี 2564 และสูงขึ้นเป็น 7 ล้านคันภายในปี 2573 สำหรับตลาดยุโรป คาดการณ์ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าล้วนแบบ BEV จะนับเป็น 2 ใน 3 จากยอดรวมในปี 2573 นี้ ขณะเดียวกัน BMW Group ยังคาดว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะมีส่วนแบ่งถึงครึ่งหนึ่งของยอดขายรวมทั้งหมดในตลาดยุโรป ภายในปี 2573
ในอนาคตอันใกล้อีกไม่เกิน 3 ปี BMW Group จะมียานยนต์ไฟฟ้านำเสนอออกสู่ตลาดมากถึง 25 รุ่น ในตลาดโลกภายในปี 2566 โดยมากกว่าครึ่งของจำนวนนี้จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วนแบบ BEV
สมรรถนะของรถยนต์ BMW แบบปลั๊กอินไฮบริดในปัจจุบัน
นอกจากประโยชน์ที่ชัดเจนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการขับขี่แบบปราศจากมลพิษ รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดยังมอบประโยชน์อีกหลายข้อให้กับผู้ขับขี่ เช่น บางเมืองในยุโรปจะให้สิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงเขตควบคุมมลพิษในบางเมืองอย่างเทียบเท่ารถยนต์ไฟฟ้าล้วน รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดช่วยให้เจ้าของรถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20-30% เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไป
ในขณะที่หลายคนยังคงตั้งคำถามเกี่ยวกับระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถทำได้ จากการรวบรวมและสำรวจสถิติระบุว่า ผู้คนในสหภาพยุโรปมีระยะทางสัญจรเฉลี่ยระหว่างวันไม่เกิน 30 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดสามารถรับมือได้อย่างง่ายดาย ด้วยการขับขี่แบบพลังงานไฟฟ้าล้วนที่ปราศจากมลภาวะ
ปัจจุบันรถยนต์ในตลาดยุโรป ลูกค้าสามารถเข้าถึงสถานีประจุอัดไฟฟ้ากว่า 155,000 จุด โดย BMW Group จะเดินหน้าขยายเครือข่ายอัดประจุไฟฟ้าของบริษัทฯ ให้ครอบคลุมถึง 4,100 จุด ภายในปี 2564 แรงจูงใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยโซน eDrive และคะแนน BMW Points โซน BMW eDrive ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ใน 80 เมืองทั่วทวีปยุโรป เป็นเขตควบคุมมลพิษที่รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดของ BMW สามารถเปลี่ยนไปสู่โหมดการขับขี่แบบไฟฟ้าล้วนได้โดยอัตโนมัติเมื่อเข้าสู่พื้นที่ โดยที่ผู้ขับม่จำเป็นต้องสั่งการใดๆ นอกจากจะช่วยลดมลภาวะแล้ว พื้นที่เฉพาะสำหรับยานยนต์ไฟฟ้านี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการจราจรที่ติดขัดใจกลางเมือง ในอนาคตอันใกล้นี้เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า BMW สามารถสะสมและแลกคะแนน BMW Points จากการขับขี่ในแบบไฟฟ้าล้วนในแต่ละกิโลเมตร โดยจะได้คะแนนสะสมเป็น 2 เท่า ด้วยการขับขี่ด้วยระบบดังกล่าวในโซน eDrive ทั้งนี้จะมีการประกาศข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม BMW Points ในเร็วๆ นี้
การพัฒนาแบตเตอรี่ การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และการรีไซเคิล ของ BMW Group
ปัจจุบัน BMW ดูแลและควบคุมทุกขั้นตอนของการพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แบตเตอรี่ นับตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยไปจนถึงการผลิต โดยมีโรงงานกว่า 11 แห่ง ภายใต้เครือข่ายของ BMW รวมไปถึงโรงงานแบตเตอรี่รถไฟฟ้าและรถปลั๊กอินไฮบริดที่จังหวัดระยองในประเทศไทย เป็นโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิตและประกอบแบตเตอรี่ นอกจากนี้ BMW ทำการวิจัยและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่ผ่านการพิสูจน์สมรรถนะตั้งแต่ในห้องแล็บจนถึงสนามแข่ง Formula E กับทีม BMW i Motor Sport ก่อนจะมาถึงมือของลูกค้าในรถยนต์รุ่นที่ผลิตเพื่อทำตลาด ทั้งนี้ BMW Group คาดการณ์ว่า การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์แบตเตอรี่จะส่งผลให้สามารถผลิตแบตเตอรี่ที่มีความจุสูงขึ้นเป็น 2 เท่าในขนาดเท่าเดิมได้ ภายในปี 2573 ยกตัวอย่างเช่น i3 รุ่นปัจจุบัน เมื่อชาร์จไฟจนเต็มแบตฯ จะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร ด้วยแบตเตอรี่แบบใหม่จะทำให้การวิ่งทางไกลเพิ่มมากขึ้นเป็น 750 กิโลเมตร ในอีก 10 ปีนับต่อจากนี้
BMW ระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในแง่ของมาตรฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จากข้อตกลงในการจัดหาแร่โคบอลต์และลิเธียมในรูปแบบที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับคำมั่นสัญญาที่จะลดและยุติการใช้แร่ธาตุหายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ ปัจจุบัน ทุกเซลล์แบตเตอรี่ของรถยนต์ BMW ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ eDrive เจเนอเรชั่นที่ 5 ถูกผลิตด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งที่ปราศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การผลิตและประกอบรถยนตไฟฟ้าภายใต้หลักการอนุรักษ์ลิ่งแวดล้อม ถูกสะท้อนให้เห็นชัดเจนที่สุดในรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุด BMW iX3 2021 ในด้านทางเลือก เทคโนโลยีแบตเตอรี่ BMW มองเห็นศักยภาพที่จะพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีเซลล์แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน โดยเห็นได้ชัดจากความก้าวหน้าในการเพิ่มความจุแบตเตอรี่ในรถยนต์ BMW i3 เป็น 2 เท่าในตัวแบตเตอรี่ขนาดเดิม ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น
เมื่อผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่ง แบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพลงจนถึงจุดที่ไม่อาจใช้งานต่อได้ ไม่ว่าเพื่อการขับเคลื่อนรถยนต์หรือการใช้งานรูปแบบอื่นๆ BMW ตั้งเป้าที่จะรีไซเคิลวัตถุดิบอันมีค่าภายในแบตเตอรี่เหล่านี้ ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ BMW Group แถลงว่า ได้ทำการร่วมมือกับบริษัท Duesenfeld GmbH เพื่อพัฒนากระบวนการในการรีไซเคิลอิเล็กโทรไลต์และแกรไฟต์ในแบตเตอรี่ที่สามารถคืนสภาพวัตถุดิบได้กว่า 90% โดยไม่ทิ้งกากสารพิษไฮโดรเจนฟลูออไรด์ที่เป็นอันตราย ทั้งยังปล่อยมลภาวะออกมาน้อยกว่าวิธีอื่นถึง 40% อีกด้วย.
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/
"แบตเตอรี่" - Google News
August 11, 2020 at 02:05PM
https://ift.tt/31DiwE9
รถไฟฟ้าใกล้มาแล้วนะเธอ! BMW เร่งพัฒนาแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงสำหรับรถ PLUG IN HYBRID และ EV - ไทยรัฐ
"แบตเตอรี่" - Google News
https://ift.tt/3cnuB4C
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2SOJ3e7
Bagikan Berita Ini
0 Response to "รถไฟฟ้าใกล้มาแล้วนะเธอ! BMW เร่งพัฒนาแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงสำหรับรถ PLUG IN HYBRID และ EV - ไทยรัฐ"
Post a Comment