สวทช. โชว์ศักยภาพ Lab แบตเตอรี่ พร้อมรองรับการทดสอบแบตเตอรี่เพาเวอร์แบงก์ทุกยี่ห้อ
จากกรณีที่มีข่าวแบตเตอรี่สำรอง หรือเพาเวอร์แบงก์ ระเบิด และเกิดเพลิงไหม้ตามมาอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่วางไว้อยู่ในรถที่ตากแดดเป็นเวลานาน หรือชาร์จทิ้งไว้ในบ้านแล้วเกิดเหตุระเบิดจนไฟลุกไหม้ที่พักอาศัย สร้างความเสียหายแก่ตนเองและประชาชนในละแวกใกล้เคียง ดังนั้นเพื่อดูแลคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ประกาศให้มาตรฐานเพาเวอร์แบงก์ เป็นมาตรฐานบังคับ คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบพกพา คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย มอก. 2879-2560 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562 ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นขอ มอก. เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ และจะมีผลบังคับใช้ 1 ธันวาคม2563 นี้ ซึ่งจะส่งผลให้เพาเวอร์แบงก์ในท้องตลาดทุกยี่ห้อ ต้องมีเครื่องหมาย มอก.รับรอง ผู้ทำ ผู้นำเข้า ต้องทำและนำเข้าสินค้าตามที่มาตรฐานกำหนดเท่านั้น รวมถึงผู้จำหน่ายก็ต้องจำหน่ายเฉพาะสินค้าที่มีเครื่องหมาย มอก.
สำหรับมาตรฐานเพาเวอร์แบงก์ที่ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สวทช. ทำการทดสอบตามมาตรฐานที่ สมอ. กำหนดนั้นจะมีการทดสอบด้านความปลอดภัยในการใช้งานในกรณีต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น กรณีที่ลืมชาร์จทิ้งไว้นานๆ แบตเตอรีที่อยู่ภายในสามารถชาร์จไฟต่อเนื่องได้ถึง 28 วัน การชาร์จด้วยแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าของแบตเตอรี่ปกติ การทำแบตเตอรี่ตกจากที่สูงและเกิดแรงกระแทกแรงกด การลัดวงจรของขั้วบวกและลบของแบตเตอรี่ การนำเพาเวอร์แบงก์ขึ้นเครื่องบินซึ่งมีความกดอากาศต่ำ และการนำเพาเวอร์แบงก์ไว้ในที่อุณหภูมิสูง เช่น ในรถยนต์ที่จอดกลางแจ้ง เป็นต้น
ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า “กรณีข่าวแบบนี้เกิดขึ้นได้มากจากการที่แบตเตอรี่เหล่านี้โดนความร้อนจัด ซึ่งส่วนประกอบของแบตเตอรี่เป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนง่ายและอาจเกิดการติดไฟขึ้นได้ ในเวลาที่เจอกับสภาวะร้อนจัด ซึ่งข้อควรปฏิบัติ ในการใช้แบตเตอรี่ประเภทนี้ ห้ามวางใกล้ไฟหรือมีความร้อนสูง ห้ามทิ้งลงในกองไฟเพราะจะทำให้สารภายในแบตเตอรี่ ติดไฟ และเกิดระเบิดได้ หรือหากถูกกระแทกแรงๆ แบตเตอรี่ จะเกิดการลัดวงจรภายใน อีกทั้งห้ามชาร์จในที่ร้อนๆ เพราะจะทำให้วงจรป้องกันทำงานผิดปกติและเกิดระเบิดตามมาได้
ในส่วนของการทดสอบแบตเตอรี่ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่แบบครบวงจรแห่งแรกในไทยที่สามารถทำการทดสอบแบตเตอรี่ทั้งระดับเซลล์ ระดับโมดูล และระดับแพ็ค และได้รับมาตรฐาน มอก. 2217 หรือ IEC62133 และมาตรฐาน มอก. 2879 จาก สมอ.
ปัจจุบัน PTEC ยังสามารถทำการทดสอบแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ ที่ใช้สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(EV) และแหล่งเก็บกักพลังงาน(Energy Storage)ขนาดใหญ่ ทั้งในด้านประสิทธิภาพในการชาร์จ-ดิสชาร์จ และด้านความปลอดภัยการใช้งาน เช่น กรณีแบตเตอรี่เกิดการจมน้ำในถนนที่มีน้ำท่วมสูง การนำแบตเตอรี่ใช้ในถนนประเทศไทยซึ่งมีฝุ่นมาก การนำจอดรถยนต์ไฟฟ้าจอดตากแดดและมีการเปิดแอร์ซึ่งทำให้อุณหภูมิเกิดเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การติดตั้งแบตเตอรี่ในยานยนต์ไฟฟ้าและทำการจำลองสภาวะถนนซึ่งมีการสั่นสะเทือนและการกระแทกตามมาตรฐานสากลเป็นต้น
สำหรับผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัย ควรเลือกใช้แบตเตอรี่ หรือตัวชาร์จ ที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน มีตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น มอก. และควรหลีกเลี่ยง แบตเตอรี่ เพาเวอร์แบงก์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ราคาถูกเกินจริง แต่มีการโฆษณาว่ามีความจุที่สูง ชาร์จเร็ว เพราะมีโอกาสที่จะเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ ซึ่งอาจส่งผลต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทุกคนได้ ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม แบตเตอรี่ /อิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์ทดสอบให้ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐาน มอก.ตามที่ สมอ. กำหนด ได้ที่ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( PTEC ) สวทช. ได้ที่ www.ptec.or.th หรือ อีเมล์ sales@ptec.or.th และเบอร์โทรติดต่อ 02 117- 8600
"แบตเตอรี่" - Google News
September 03, 2020 at 07:10PM
https://ift.tt/3jAlIb8
สวทช. โชว์ศักยภาพ Lab แบตเตอรี่ พร้อมรองรับการทดสอบแบตเตอรี่เพาเวอร์แบงก์ทุกยี่ห้อ - มติชน
"แบตเตอรี่" - Google News
https://ift.tt/3cnuB4C
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2SOJ3e7
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สวทช. โชว์ศักยภาพ Lab แบตเตอรี่ พร้อมรองรับการทดสอบแบตเตอรี่เพาเวอร์แบงก์ทุกยี่ห้อ - มติชน"
Post a Comment